ปัญหาเหล่านี้อาจเกิดขึ้น
เด็กติดเกม
15 – 20%
เด็กและวัยรุ่นไทย 15-20%
มีปัญหาการเล่นเกม

5%
ติดเกม
เด็กเริ่มติดเกมด้วยอายุที่ลดลงเรื่อย ๆ
ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านภาษา กล้ามเนื้อ
การคิดวิเคราะห์ ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ)
ครอบครัวแหว่งกลาง

เด็กที่ได้อยู่กับพ่อแม่พร้อมหน้า
ลดจำนวนลง
อย่างต่อเนื่อง
เด็กอยู่กับผู้สูงวัย มักเกิดช่องว่างด้านการสื่อสารและความเข้าใจ
จึงไม่สามารถดูแลหลานได้อย่างเหมาะสม
ผู้สูงอายุอยู่คนเดียว

ในรอบ 20 ปี
ผู้สูงอายุในไทย
อาศัยตามลำพัง
เพิ่มขึ้น 2 เท่า
หรือราว 800,000 คน
และมีแนวโน้มจะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ
ปัญหาเหล่านี้อาจเกิดขึ้น
งานชะงัก ไม่ก้าวหน้า เงินเดือนน้อย

เพราะไม่สามารถทุ่มเทให้กับงานได้ ความรู้ความสามารถที่มี
ไม่ถูกใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง องค์กร และสังคม
แรงงานไทยออกจากตลาดแรงงานเร็ว

ส่วนใหญ่
เป็นผู้หญิง
ที่มีภาระดูแล
สมาชิกในครอบครัว
แรงงานไทย
ออกจากตลาดตั้งแต่
อายุ 45 ปี
ส่งผลกระทบต่อรายได้ และความมั่นคงทางการเงินในวัยเกษียณ
รวมทั้งไม่เป็นผลดีต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจ
องค์กรระหว่างประเทศ ร่วมขับเคลื่อน Family-Friendly Workplace
องค์กรระหว่างประเทศ ที่มีภารกิจการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ล้วนแต่มีวาระผลักดันให้เกิดที่ทำงานเป็นมิตรกับครอบครัวคนทำงานแทบทั้งสิ้น






องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO – International Labour Organization)
กำหนดมาตรฐานคุ้มครองแรงงานด้านครอบครัว โดยจัดทำคู่มือพัฒนาสภาพการทำงาน สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก
องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
(OECD – Organisation for Economic Co-operation and Development )
มีการรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลเรื่องที่ทำงานเป็นมิตรของครอบครัว และ Work Life Balance ในประเทศต่าง ๆ โดยมี OECD Better Life Index เป็นดัชนีชี้วัดการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนทำงาน
กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF)
สนับสนุนด้านวิชาการเพื่อผลักดันนโยบาย เช่น การลาคลอด สวัสดิการสำหรับพนักงานที่มีลูก ห้องนมแม่ เดย์แคร์ รวมทั้งร่วมมือกับเอกชนเพื่อจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้พนักงานดูแลลูกได้ดียิ่งขึ้น
World Bank
ขับเคลื่อน IFC’s Corporate Strategy 3.0 ผ่าน International Finance Corporation โดยการสำรวจตัวอย่างบริษัทที่เป็นมิตรกับครอบครัวในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา เช่น ฟิจิ เมียนมาร์ ศรีลังกา อินเดีย เพื่อค้นหารูปแบบนโยบายการสนับสนุนที่เหมาะสม
UN Women
จัดโครงการ Women’s Empowerment Principles ร่วมกับเอกชน เพื่อสนับสนุนการทำงานสำหรับผู้หญิง โดยจัดเวลาการทำงานที่ยืดหยุ่นเข้าถึงสถานรับเลี้ยงเด็ก และสนับสนุนการทำงานสำหรับพนักงานที่ต้องดูแลสมาชิกในครอบครัว
องค์การสหประชาชาติ (UN – United Nations)
ออกแถลงการณ์ภายใน ยืนยันว่าพนักงานกว่า 37,000 ชีวิต จะได้รับการสนับสนุนให้ดูแลครอบครัว รวมถึงสวัสดิการ เช่น ลาคลอด ยืดหยุ่นเวลาทำงาน มีสถานรับเลี้ยงเด็ก เป็นต้น


องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO - International Labour Organization)
กำหนดมาตรฐานคุ้มครองแรงงานด้านครอบครัว โดยจัดทำคู่มือพัฒนาสภาพการทำงาน สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก

กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF)
สนับสนุนด้านวิชาการเพื่อผลักดันนโยบาย เช่น การลาคลอด สวัสดิการสำหรับพนักงานที่มีลูก ห้องนมแม่ เดย์แคร์ รวมทั้งร่วมมือกับเอกชนเพื่อจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้พนักงานดูแลลูกได้ดียิ่งขึ้น

World Bank
ขับเคลื่อน IFC’s Corporate Strategy 3.0 ผ่าน International Finance Corporation โดยการสำรวจตัวอย่างบริษัทที่เป็นมิตรกับครอบครัวในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา เช่น ฟิจิ เมียนมาร์ ศรีลังกา อินเดีย เพื่อค้นหารูปแบบนโยบายการสนับสนุนที่เหมาะสม

องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD - Organisation for Economic Co-operation and Development )
มีการรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลเรื่องที่ทำงานเป็นมิตรของครอบครัว และ Work Life Balance ในประเทศต่าง ๆ โดยมี OECD Better Life Index เป็นดัชนีชี้วัดการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนทำงาน

UN Women
จัดโครงการ Women’s Empowerment Principles ร่วมกับเอกชน เพื่อสนับสนุนการทำงานสำหรับผู้หญิง โดยจัดเวลาการทำงานที่ยืดหยุ่นเข้าถึงสถานรับเลี้ยงเด็ก และสนับสนุนการทำงานสำหรับพนักงานที่ต้องดูแลสมาชิกในครอบครัว

องค์การสหประชาชาติ (UN - United Nations)
ออกแถลงการณ์ภายใน ยืนยันว่าพนักงานกว่า 37,000 ชีวิต จะได้รับการสนับสนุนให้ดูแลครอบครัว รวมถึงสวัสดิการ เช่น ลาคลอด ยืดหยุ่นเวลาทำงาน มีสถานรับเลี้ยงเด็ก เป็นต้น
กสร.แนะองค์กรจัด “สวัสดิการครอบครัว” ได้ใจลูกจ้าง
ปัญหาของแรงงานไม่ใช่แค่เรื่องรายได้ แต่ส่วนหนึ่งต้องดูแลคนในครอบครัวด้วย ไม่ว่าจะเป็นเด็ก หรือผู้สูงอายุในบ้าน สถานประกอบการที่มีสวัสดิการดูแลไปถึงครอบครัวจะสร้างให้ลูกจ้างมีขวัญกำลังใจ และมีผลิตภาพที่ดีขึ้น
สค.หนุนสถานประกอบการ เสริมคุณภาพชีวิตลูกจ้างและครอบครัว
รัฐมีสวัสดิการที่สร้างแรงจูงใจให้สถานประกอบการจัดสภาพแวดล้อมและสวัสดิการที่เอื้อให้ลูกจ้างดูแลครอบครัวได้ดีขึ้น เช่น การจัดศูนย์เด็กเล็ก ที่นำไปลดหย่อนภาษีได้ นอกจากลูกจ้างมีคุณภาพชีวิตที่ดี สถานประกอบการก็ได้ประโยชน์ ทั้งการทำเพื่อสังคม และผลกำไร
หน่วยงานภาครัฐมีมาตรการส่งเสริมสถานประกอบการในการจัดสภาพแวดล้อมและสวัสดิการ ที่เอื้อให้พนักงาน/ลูกจ้างดูแลครอบครัวได้ดียิ่งขึ้น ที่สำคัญ ได้แก่
ในประเทศไทย เครือข่ายสถานประกอบการที่เป็นมิตรกับครอบครัว ได้รวบรวมตัวอย่างขององค์กรที่มีการสนับสนุนการดูแลครอบครัวให้กับพนักงานในหลากหลายรูปแบบ แตกต่างกันตามบริบทของงาน คนทำงาน รวมทั้งรูปแบบการประกอบการ โดยอาจแบ่งเป็น 4 มิติที่สำคัญ
Time Management
การเปิดโอกาสให้พนักงาน บริหารจัดการเวลาได้เองมากขึ้น
Work Location
การมีสถานที่ทำงานเอื้อต่อการทำงานและดูแลครอบครัวไปพร้อมกัน
Family Support
การสนับสนุนการดูแลครอบครัว ด้านสถานที่และค่าใช้จ่ายต่างๆ
Relation
การสนับสนุนคนทำงาน ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว
เสียงจากคนทำงาน

ดูแลสุขภาพ เพื่อครอบครัวพนักงาน
วันที่แม่ได้ฉีดวัคซีน เรารู้สึกหมดห่วงเรื่องครอบครัวไปเลย
เพราะรู้สึกว่าครอบครัวเราปลอดภัยแล้ว รู้สึกดีมากที่องค์กร
ไม่ได้ดูแลแค่ตัวเรา แต่ยังครอบคลุมไปถึงครอบครัวของเรา
พ่อแม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้เหมือนทำงานราชการ
ครอบครัวเป็นคนต่างจังหวัด มีค่านิยมอยากให้ลูกรับราชการ
วันนี้ลูกได้ทำงานในองค์กรเอกชนที่มั่นคง และมีสวัสดิการที่
ดูแลครอบครัวได้ เป็นเรื่องที่ครอบครัวภูมิใจ
- บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน)
เติมพลังให้ “คุณพ่อ”
ก่อนหน้านี้เคยจะให้แฟนออกจากงานมาเลี้ยงลูก แต่เห็นหลายคนที่ออกมาเลี้ยงลูกแล้วเครียด กดดัน ไม่มีสังคม พอแก้ปัญหาโดยการนำลูกมาเลี้ยงที่ออฟฟิศได้ หัวหน้ากับ
เพื่อนร่วมงานก็เข้าใจความจำเป็น เราเลี้ยงลูกที่ออฟฟิศจนตอนนี้ลูก 2 ขวบ 4 เดือนแล้ว บางวันแฟนติดงานก็พาลูกมาอยู่กับผม โชคดีอีกอย่างคือที่นี่มีเนิร์สเซอรีสามารถฝากลูกได้ตั้งแต่อายุ 1 ขวบครึ่ง ช่วยให้เราสะดวกในการเลี้ยงดูลูกมาก
– ไทยพีบีเอส


ใส่ใจ “ผู้สูงวัย” ในครอบครัว
ตอนที่พ่อล้ม เราจะซื้อรถเข็นให้เขาใช้เวลาไปโรงพยาบาล พอทางบริษัทรู้ก็ให้ผู้จัดการส่งรถเข็นมาให้ ช่วงหลังพ่อเริ่มนอนลำบาก เลยจะขอซื้อเตียงผู้ป่วย ทางบริษัทก็ให้เอาไปใช้ ตอนนี้พ่อเริ่มดีขึ้นแล้ว คิดกันว่าจะนำของไปบริจาคต่อให้ รพ.สต. รู้สึกดีใจมาก ที่บริษัทมีนโยบายแบบนี้ บ้านเราแค่พอมีพอใช้ เมื่อได้รับการช่วยเหลือรู้สึกดีต่อใจ
- MED Shop
“เวลาจัดการได้” มีความหมายมากที่สุด
ก่อนหน้านี้เคยมีปัญหาเรื่องไม่มีคนไปรับไปส่งลูก เพราะทำงาน 7 โมง เลิก 4 โมงครึ่ง ฝ่ายบุคคลเลยแนะนำให้เราไปรับลูกก่อนแล้วค่อยทำงานชดเชยทีหลัง หรืออย่างช่วงโควิดที่โรงเรียนหยุดยาว จะเข้างานประมาณตี 5 ครึ่ง เลิกบ่ายสามโมง สามีดูแลลูกช่วงเช้าได้ เพราะเขาเข้างาน ประมาณบ่ายโมง พอจะไปทำงานก็ฝากลูกกับพ่อแม่ไว้สัก 2 ชั่วโมง พอสามโมงเราก็กลับบ้านแล้ว ถือว่าแก้ปัญหาได้มากเลย
– โบว์เบเกอรี่เฮ้าส์

มุมมองนักบริหาร

พนักงานมีสุข สร้างงานเต็มประสิทธิภาพ
เราพยายามเอาชนะตลาด ตลาดงานส่วนใหญ่หยุดอาทิตย์ละวัน เราหาโมเดลที่จะให้หยุดได้ 5 วันต่อสัปดาห์ ทั้งหมดที่ทำเป็นความเชื่อของผมที่ว่า ถ้าพนักงานมีความสุขในชีวิตจากการที่เขาได้คอนโทรลเวลาให้ตัวเองได้มากขึ้นแล้ว จะทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น การที่ผมให้ผลประโยชน์เขาเยอะก็จะได้กลับมาทวีคูณ
- คลินิกทันตกรรม สมายล์ เอเวอรี่เดย์
“งาน-ครอบครัว” สมดุลชีวิตสองด้านสร้างได้
ประชุมกันไป ลูกน้องอุ้มลูกมานั่งด้วย เราไม่ได้มองเป็นปัญหา ดีเสียอีก ทำให้ได้เห็นชีวิตอีกด้านของแต่ละคน ทุกคนรู้จักครอบครัวของเพื่อนร่วมงาน มีความคุ้นเคยกันมากขึ้น ช่วยให้ความร่วมมือในการทำงานดีขึ้นด้วย
สำคัญมากคือต้องปรับมุมมองต่อการทำงาน เลิกตรวจสอบที่กระบวน แต่หันมาสนใจกับชิ้นงานที่เป็นเป้าหมาย รวมทั้งวางระบบประสานงาน และการรายงานผลอย่างสม่ำเสมอ
– บริษัทไอเอ็นดีสเปซ จำกัด


สกัดปัญหาหนี้สิน ก่อนลุกลามกระทบงาน
พนักงานส่วนใหญ่ที่บ้านมีสวนยาง หลายคนเอาโฉนดไปจำนอง พอหมุนไม่ทันก็ทบต้นทบดอก เจ้าหนี้จะยึดที่ กระทบกับทั้งครอบครัว เราไปไถ่โฉนด แล้วให้พนักงานมาทยอยผ่อนกับเรา โดยไม่มีดอกเบี้ย การมีนโยบายช่วยเหลือแบบนี้ พนักงานมีปัญหาก็เดินเข้ามาบอกเรา มาขอความช่วยเหลือ ข้อดีคือ ทำให้เห็นรายละเอียด ได้รู้สิ่งที่เกิดขึ้นในองค์กร ทั้งเรื่องงาน
และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน
– โรงแรมทวินโลตัส
สวัสดิการที่ตอบโจทย์ โดนใจคนทำงาน
ที่ผ่านมา เรากำหนดสวัสดิการตามแพตเทิร์น แต่การดูแลพนักงานต้องดูบริบท คนของเราเป็นผู้หญิง 80% เมื่อดูความจำเป็นของผู้หญิง เราจึงจัดห้องนมแม ทำแบบนี้ การจัดสวัสดิการก็จะมีประสิทธิภาพตรงความต้องการของพนักงาน สิ่งที่องค์กรได้รับก็คือ ประสิทธิภาพการทำงาน และองค์กรเป็นที่รักของพนักงาน ใคร ๆ ก็อยากจะมาทำงานกับเรา
- บริษัท ไทยซัมมิท ฮาร์เนส จำกัด (มหาชน)


เครือข่ายสถานประกอบการที่เป็นมิตรต่อเด็ก และครอบครัว
เสริมพลัง สร้างแรงบันดาลใจ
ถ้าใช้วิธีว่า ขอดูระเบียบหน่อย บริษัทคุณมีอะไรที่เอื้อเฟื้อกับ
พนักงาน หลายอย่างอาจไม่ได้ถูกเขียน แต่เราพบว่ามันอยู่ใน
mindset ของผู้บริหารทุกระดับ ทำให้ฝ่าย HR สามารถตัดสินใจ
ได้ว่าต้องมีอะไรบ้างที่เอาไว้ช่วยพนักงาน มองว่าในอนาคต
ถ้าเราเกาะเกี่ยวกับไป หาเพื่อนเพิ่มขึ้น ที่อยากเห็นงานเดินหน้า
ไปพร้อมกับหน่วยเล็ก ๆ คือครอบครัว เราน่าจะมีสมาชิกมากขึ้น
มีรูปแบบมาแบ่งปันกันและลองทำ
– ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุน
สุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส.
อุตสาหกรรม 4.0 ต้องดูแล
ครอบครัวพนักงาน สร้างความผูกพันองค์กร
อุตสาหกรรม 2.0 หรือ 3.0 มองเชิงเดี่ยว คือ องค์กรและพนักงาน
แต่ถ้าคุณต้องการเป็นอุตสากรรม 4.0 ที่ทันสมัย คุณต้องมอง
ทั้งองคาพยพ การที่พนักงานจะผูกพันและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง
ขององค์กร ผมว่าต้องมองถึงครอบครัวของพนักงาน
การวิจัยมากมายพิสูจน์แล้วว่า องค์กรจะประสบความสำเร็จได้
พนักงานต้องมีความผูกพัน ถ้าพนักงานไม่ผูกพันกับองค์กร
คุณนับวันจบได้เลย
- สัมพันธ์ ศิลปนาฎ ประธานกรรมการบริหารแผน คณะที่ 4 สสส.

เครือข่ายสถานประกอบการ
ที่เป็นมิตรต่อเด็ก และครอบครัว
อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ
99/8 ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120