
เจาะ 5 กลยุทธ์ LINE ประเทศไทย WFH สนุก มีประสิทธิภาพ
5 กลยุทธ์ LINE ประเทศไทย สร้าง Happy Digital Workplace เน้นสะดวก ดูแลสุขภาพกาย-ใจ รักษาความสัมพันธ์ เติมทักษะต่อเนื่อง
การทำงานจากที่บ้านในช่วงที่โควิด-19 แพร่ระบาด กลายเป็นความเครียดที่จัดการไม่ได้สำหรับหลายคน
LINE ประเทศไทย มีแนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรแบบ LINER-Centric โดยมีหัวใจสำคัญคือ การรับฟังความต้องการของชาว “ไลน์เนอร์” และการให้ความสำคัญกับสุขภาวะ (Wellbeing) ของพนักงานทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

5 กลยุทธ์ สร้าง Happy Digital Workplace
1. ระบบรองรับคล่องตัว สื่อสารทั่วถึง – อุปกรณ์การทำงาน เป็นสิ่งสำคัญสิ่งแรกของการปรับเข้าสู่นโยบาย Work from Home พนักงานสามารถยืมอุปกรณ์ออฟฟิศทุกชิ้นไปใช้ที่บ้านได้ ทั้งโน้ตบุ๊ค จอมอนิเตอร์ เก้าอี้ทำงาน พร้อมระบบอินทราเนตที่อนุญาตให้ล็อกอินเข้าถึงข้อมูลงานต่างๆ ได้อย่างปลอดภัย และมีการเพิ่มช่องทางการสื่อสาร Employee Communication ที่ทั่วถึงและสม่ำเสมอผ่าน LINE Official Account ของบริษัทฯ สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่สะดวก ไม่สะดุดแม้อยู่บ้าน
2. ดูแลกายและใจ – การมีสุขภาพกายและใจดี คือจุดเริ่มต้นของการสร้างสรรค์งานดีๆ ได้ ดังนั้นนอกจากระบบประกันสุขภาพที่เพิ่มขึ้นให้ครอบคลุมถึงการรักษา “โควิด-19” LINE ยังจัดหาวัคซีนซิโนฟาร์มให้แก่พนักงานที่ต้องการรับ และให้คำแนะนำและข้อมูลที่เกี่ยวกับโควิด-19 อาทิ การทำ Home Isolation, การบริการโทรเวชกรรม (Telemedicine) พบแพทย์ออนไลน์ได้ทั้ง โรคทั่วไปและโรคเรื้อรัง และการจัดคลาสออกกำลังกายออนไลน์ทุกสัปดาห์ ในด้าน “จิตใจ” พนักงานสามารถใช้บริการ OOCA เพื่อปรึกษาสุขภาพจิตกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะ อาการเครียดและอาการ Burn Out จากการทำงาน
3. ความสัมพันธ์ต้องไม่แผ่ว – เป็นเรื่องยากที่ท้าทายไม่น้อยสำหรับแผนกทรัพยากรบุคคลในการรักษาและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานและองค์กรในช่วง WFH ไม่เพียงแต่กิจกรรมออนไลน์ ที่ถูกจัดขึ้นเป็นประจำให้พนักงานได้ร่วมสนุกและมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างสนุกสนาน ยังมีกิจกรรมออฟไลน์ต่างๆ ที่ถูกเลือกสรรและจัดส่งเป็นของขวัญในคอนเซ็ปต์ต่างๆ ไปให้พนักงานถึงบ้าน อย่างสม่ำเสมอ อาทิ ชุดปลูกต้นไม้ ชุดทำแพนเค้ก ฯลฯ เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของความ “ใส่ใจ” ที่จะยึดโยงพนักงานกับองค์กรเข้าด้วยกัน
4. ประเมินและพูดคุย สม่ำเสมอ – แม้จะไม่ได้พบเจอกันในการทำงาน การฟีดแบกและประเมินผลงาน เป็นสิ่งสำคัญในการรักษาประสิทธิภาพการทำงาน LINE ได้เพิ่มระบบ “p-talk” ในส่วนของ LINER’s Continuous Performance Management ให้พนักงานสามารถอัปเดตผลงานและได้รับฟีดแบ็คการทำงานจากเพื่อนร่วมงานและหัวหน้างานแบบเรียลไทม์และต่อเนื่อง โดยไม่ต้องกลัวว่าจะตกหล่นตอนสิ้นปี นอกจากนี้ ยังมีการทำแบบประเมิน Employee Engagement Survey เพื่อวัดความสัมพันธ์และพึงพอใจในงาน เพื่อนร่วมงาน เจ้านายและองค์กรทุกไตรมาส เพื่อประเมินดัชนีความสัมพันธ์อยู่เสมออีกด้วย
5. การเสริมทักษะ ต้องไม่ให้ขาด – อีกหนึ่งวัฒนธรรมสำคัญของ LINE ประเทศไทย คือ WOW Sharing ซึ่งเป็นคลาสออนไลน์ในการเสริมทักษะการทำงานในด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้าน Soft Skill ซึ่งมีการปรับและเพิ่มหัวข้อให้เหมาะกับสถานการณ์และความต้องการของพนักงานยิ่งขึ้นในช่วง WFH อาทิ การสื่อสารเพื่อสร้างความประทับใจในที่ทำงาน, การดำเนินชีวิตด้วยแนวคิดอิคิไก, การป้องกันพฤติกรรมที่เป็นพิษในที่ทำงาน, วิธีการเอาชนะอาการ Burn Out ฯลฯ รวมถึง คลาสเรียนภาษาที่สามที่พนักงานสามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจอีกด้วย


ทำอย่างไร ถ้าลูกต้อง Home Isolation
ข้อมูลจากกรมควมคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ 1 เมษายน ถึง 6 กรกฎาคม รายงานผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 18 ปี ติดเชื้อทั้งหมด 32,829 ราย ส่งผลให้อัตราครองเตียงสูงขึ้นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโควิด-19 ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง อาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล หรืออยู่ในโรงพยาบาลเพียงระยะสั้น ๆ แล้วไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้จนหายสนิท
ผู้ป่วยโควิด-19 จะเริ่มแพร่เชื้อก่อนมีอาการประมาณ 2-3 วัน ไปจนถึงสิ้นสุดสัปดาห์แรกของการเจ็บป่วยนับจากมีอาการ
ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการน้อยหรืออาการดีขึ้นแล้ว อาจยังมีเชื้อไวรัสที่ยังแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้เป็นระยะเวลาประมาณ 10 วัน หลังจากเริ่มป่วย ดังนั้น ผู้ป่วยที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจำเป็นต้องแยกตัวเองจากผู้อื่นขณะอยู่ที่บ้าน ผู้ที่มีอาการและตรวจพบเชื้อแล้ว หรือตรวจพบเชื้อแต่ไม่มีอาการให้แยกตัว 14 วันนับจากมีอาการ หรือตรวจพบเชื้อครั้งแรก กรณีที่ไม่ได้ตรวจหาเชื้อแต่มีความเสี่ยงสูง เช่น อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน แนะน าให้แยกตัวเองอยู่ที่บ้าน และปฏิบัติตัวเสมือนผู้ติดเชื้อ
แนวทางการแยกตัวที่บ้าน
Home Quarantine หมายถึง การแยกผู้สงสัยว่ามีการสัมผัสเชื้อไวรัส แต่ยังไม่มีอาการ ไม่เคยได้รับวัคซีน ให้แยกกักตัวที่บ้าน 14 วัน
Home Isolation หมายถึง การแยกกักตัวสำหรับผู้ติดเชื้อไวรัส สามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ จะต้องแยกตัวอยู่ที่บ้านเป็นเวลา
10-14 วัน

แยกตัวที่บ้านอย่างไร?
ผู้ที่แยกกักตัวจะต้องอยู่บ้าน รักษาระยะห่างจากผู้อื่นจนพ้นระยะติดเชื้อ สังเกตอาการของ COVID-19 และไม่ให้คนมาเยี่ยมที่บ้าน
ต้องอยู่ห่างจากสมาชิกคนอื่นในบ้านและสัตว์เลี้ยง 6 ฟุต ถ้าสามารถทำได้ ยกเว้นผู้กักตัวด้วยเหตุผลเดียวกัน
ใส่หน้ากากอนามัยหากไม่สามารถรักษาระยะห่าง 6 ฟุตจากผู้อื่น ส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี และผู้ที่มีปัญหาหายใจลำบาก ไม่ควรใส่หน้ากากอนามัย
ล้างมืออย่างถูกวิธีด้วยน้ำ และสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือบ่อย ๆ
แยกนอนในห้องเดี่ยว หากแยกห้องนอนไม่ได้ ให้รักษาระยะห่าง หรือนอนกลับหัวกัน
แยกสิ่งของเครื่องใช้เป็นส่วนตัว
เมื่อเด็กป่วย แต่ผู้ดูแลไม่ติดเชื้อ
- เด็กอายุมากกว่า 2 ปีแนะนำให้ใส่หน้ากากอนามัย ผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็กควรสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
- ไม่ควรพาเด็กออกไปนอกบ้าน หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับบุคคลที่มีโอกาสเกิดโรครุนแรง ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว
- อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี เปิดหน้าต่าง หรือประตูเพื่อให้มีการระบายอากาศที่เพียงพอ
- ล้างมือทุกครั้งหลังสัมผัสเด็ก และจุดเสี่ยงที่มีการสัมผัสร่วมกันบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือ เจลแอลกอฮอล์ 70%
- ไม่รับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มร่วมกัน ไม่ใช้สิ่งของร่วมกันระหว่างเด็กและผู้ดูแล เช่น จานชาม ช้อนส้อม แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว
- กรณีที่เป็นมารดาให้นมบุตร ยังสามารถให้นมบุตรได้ เนื่องจากยังไม่มีรายงานพบเชื้อโควิด-19 ในน้ำนม แต่
มารดาควรสวมหน้ากากอนามัยและล้างมืออย่างเคร่งครัดทุกครั้งก่อนสัมผัสหรือให้นมบุตร - ปิดฝาก่อนกดชักโครกทุกครั้ง ล้างมือให้ถูกวิธีทุกครั้งก่อนออกจากห้องน้ำ
คำแนะนำในการทำความสะอาดบ้าน

พื้นที่ผิว และเครื่องใช้ต่าง ๆ ใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาดร่วมกับใช้ น้ำยาฟอกขาว 1 ฝา ผสมน้ำ 1 ลิตรเช็ดพื้นที่ผิวทั่วไปเป็นเวลา 1 นาที
ทำความสะอาดพื้นผิวที่หยิบจับสัมผัสบ่อย ๆ เช่น ที่จับประตู ราวบันได อย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้งตามความจำเป็น
แยกทำความสะอาดเสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว และเครื่องนอนของเด็ก ด้วยสบู่ หรือผงซักฟอกธรรมดาและน้ำหรือซักผ้าด้วยน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส
แยกขยะที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่ง โดยใส่ถุงขยะ 2 ชั้น (หากทำได้ ชั้นนอกควรเป็นถุงขยะสีแดง) ติดป้าย “ขยะติดเชื้อ” ราดด้วยน้ำยาฟอกขาว มัดปากถุงให้แน่นก่อนนำไปทิ้งใสถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด
คำแนะนำการเฝ้าระวังอาการของโรคโควิด
- ควรมีอุปกรณ์เพื่อติดตามอาการเด็ก ได้แก่ ปรอทวัดไข้, ที่วัดออกซิเจนปลายนิ้ว, โทรศัพท์ หรืออุปกรณ์ที่สามารถถ่ายคลิปอาการของเด็กได้
- ยาสามัญประจำบ้าน ได้แก่ ยาลดไข้ (พาราเซตามอล), ยาแก้ไอ, ยาลดน้ำมูก, เกลือแร่
- ให้ผู้ดูแลสังเกตอาการของเด็ก วันละ 2 ครั้ง
- อาการที่ผู้ปกครองสามารถสังเกตต่อที่บ้านได้ ได้แก่ ไข้ต่ำ น้ำมูก ไอเล็กน้อยแต่ไม่หอบเหนื่อย ถ่ายเหลว แต่กินอาหารหรือนมได้ปกติ ไม่ซึม
- อาการที่ผู้ปกครองควรติดต่อเจ้าหน้าที่หรือโรงพยาบาล ได้แก่ หายใจเหนื่อย อกบุ๋ม ปากเขียว (กรณีมีอุปกรณ์อาจใช้วิธีถ่ายคลิปได้) ออกซิเจนปลายนิ้วน้อยกว่า หรือเท่ากับ 96% (กรณีมีที่วัด) ซึม ถ่ายเหลวอาเจียนมาก กินไม่ได้ ไข้สูงเกิน 39 องศาเซลเซียส
คำแนะนำการดูแลรักษาตามอาการ
ถ้ามีไข้ ให้ทานยาลดไข้ และเช็ดตัวลดไข้
ถ้ามีอาการไอ น้ำมูก ให้รับประทานยาแก้ไอ ยาลดน้ำมูกได้ และดื่มน้ำมาก ๆ
ถ้ามีอาการถ่ายเหลว ให้รับประทานน้ำเกลือแร่บ่อย ๆ
ที่มา : เว็บไซต์ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย